วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557




ดอกไม้เมืองไทย ( ดอกบานบุรี )







ชื่อวิทยาศาสตร์:    Allamanda cathartica  L.
ชื่อวงศ์:    Apocynaceae
ชื่อสามัญ:    Allamanda , Golden Trumpet
ชื่อพื้นเมือง:    -
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูงประมาณ 2 - 4.5 เมตร ทุกส่วนของต้นมียางขาว
    ใบ    เป็นใบเดี่ยว และจะติดเป็นคู่อยู่ตรงข้ามกัน หรืออาจจะติดอยู่รอบๆ ข้อๆ ละประมาณ 3-6 ใบ ลักษณะใบจะเป็นรูปขอบขนาน หรือ ขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบจะเป็นรูปไข่กลับ ตรงปลายของมันจะแหลม ส่วนโคนใบนั้นจะเป็นมุมยื่นลงไปที่ก้านใบ ริมขอบใบเรียบ ด้านบนเป็นมัน และเป็นร่อง
    ดอก    สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 5 กลีบ    โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก   เป็นรูปปากแตร ดอกตูมกลีบดอกจะบิดไปทางเดียวกัน
    ฝัก/ผล    ผลแห้งแตก ทรงกลม มีหนาม
    เมล็ด    เมล็ดจำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:    ใช้กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอน
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกจะมีกลิ่นหอมในตอนเช้า
การใช้ประโยชน์:    ปลูกประดับสวน ปลูกริมถนนทางเดิน ปลูกริมทะเล คลุมดิน
ถิ่นกำเนิด:    บราซิล อเมริกาใต้






ดอกไม้เมืองไทย  ( ดอกสายหยุด )




ชื่อวิทยาศาสตร์:  Desmos chinensis Lour.
ชื่อวงศ์:  Annonaceae
ชื่อสามัญ:  Desmos
ชื่อพื้นเมือง:  กล้วยเครือ เครือเขาแกลบ  สาวหยุด เสลาเพชร
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย  อายุหลายปี เลื้อยได้ไกล 5-10 เมตร กิ่งอ่อนสีน้ำตาล  มีขน  กิ่งแก่สีดำ เป็นมัน ไม่มีขน
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับในระนาบเดียว  รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก   กว้าง 3-6 เซนติเมตร   ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบบิดเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
    ดอก  สีเหลือง ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยงสีเขียว 3 กลีบ ดอกรูปถ้วยคว่ำ  กลีบดอก 6 กลีบ ไม่เชื่อมติดกัน  รูปเรียวยาว  ขอบกลีบมักห่อม้วนพับออกด้านนอก  และบิดเล็กน้อย เรียงสลับกัน 2 ชั้น กลีบชั้นนอกขนาดใหญ่กว่ากลีบชั้นใน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-6 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดเเบบมีเนื้อ มีผลย่อย 8-12 ผล  รูปทรงกระบอก  ผลคอดรัดเมล็ดเป็นช่วงๆ ผลละ 3-6 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นซุ้มใกล้บ้าน
การขยายพันธุ์:  กิ่งตอน หรือเพาะจากเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  จีนตอนใต้   

ดอกไม้เมืองไทย ( ดอกกระตังใบ )




ชื่อพฤกษศาสตร์ : Leea rubra.
ชื่อสามัญ : Ka-Tung-Bi.
วงศ์ : VITACEAE. (The Grape Family.)
ชื่อไทยพื้นเมือง : เขือง, คะนางใบ, ตองด้อม

แต่เดิมนักพฤกษศาสตร์จัดอันดับกะตังใบไว้ในวงศ์ LEEACEAE ภายหลังคงเห็นว่าพืชในวงศ์นี้มีอยู่เพียงสกุลเดียว คือสกุลเลีย (Genus Leea) และมีอยู่เพียงไม่มากชนิดนัก หรือจะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบแน่ชัด นักพฤกษศาสตร์จึงยกพันธุ์ไม้ในวงศ์นี้ไปรวมอยู่ในวงศ์เดียวกับพืชจำพวกองุ่น ซึ่งมีรูปวิธานในชีวพฤกษ์ลม้ายใกล้เคียงกันให้ได้รวมอยู่ในวงศ์เดียวกันเสียเลย กะตังใบจึงถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ VITACEAE นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นต้นมา ส่วนวงศ์สีเอชิอี้นั้นก็เป็นอันว่ายุบยกเลิกกันไป

กะตังใบ เป็นพืชซึ่งกระจากยพันธุ์อยู่ในเขตร้อนหลายแห่ง เช่นในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา เป็นต้น เป็นพันธุ์ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑-๒ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยมเฟือง อาจเป็นได้ตั้งแต่ ๘-๑๐ เหลี่ยม ใบรวมเป็นแผงๆ ละ ๕ ใบ รูปใบบางแต่หยาบระคาย ขอบใบเป็นจักละเอียด รูปใบมนรี ปลายใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร แผงใบหมู่หนึ่งๆ ยาวประมาณ ๑-๑.๕ ฟุต

ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด ก้านช่อดอกชูยาวเป็นก้านเฟืองสีแดงคล้ำ ในก้านช่อดอกแต่ละช่อยังแตกแขนงเป็นช่อย่อยได้อีกมากมายหลายช่อ และมีดอกขนาดเกสีแดงเข้มอัดเรียงแน่นอยู่เป็นแพ เป็นพันธุ์ไม้มีดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ หรือเพาะเมล็ด ผลของกะตังใบ มีลักษณะเป็นพูสามพูคล้ายผลมะยม เมื่อแก่จัดจะเป็นสีดำเข้ม พันธุ์ไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่ทั่วไปกือบทุกภาคของประเทศไทย และเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งอีกด้วย

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557



ดอกไม้เมืองไทย ( ดอกนมแมว ) 




ชื่อวิทยาศาสตร์ :      Rauwenhoffia siamensis Scheff.
ชื่อวงศ์ :                 ANNONACEAE
ชื่อสามัญ :              Rauwenhoffia siamensis
ถิ่นกำเนิด :              ภาคใต้และภาคกลางของไทย  มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ลักษณะทั่วไป : 
นมแมวเป็นไม้เถาแต่ไม่ค่อยเลื้อยเหมือนไม้เถาอย่างอื่น พบตามชายป่า ดินแล้งและป่าผลัดใบ กิ่งมักพันกันเองจนทำให้แลเห็นเป็นต้นไม้พุ่มขนาดไม่สูงเท่าใดนัก  มีดอกขนาดตั้งแต่ 1-2 ซม. ดอกสีแดงอมม่วง กลีบแข็งมากสีเหลืองนวลๆ มีกลิ่นหอมเวลาเย็นๆ และเวลากลางคืน    ต้นนมแมวมีใบยาวรีคล้ายใบมะดัน ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใบด้านบนสาก ด้านล่างสีจางกว่า เนื้อใบแข็ง มีขนตามเส้นกลางใบ      ออก ดอกเดี่ยวๆตรงซอกใบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็นสองชั้น ๆ ละ 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ขนาดดอกกว้างไม่เกิน 1.5 ซม. มีดอกเกือบตลอดปี  ผลเล็กๆ ออกเป็นพวง  เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รับประทานได้ พันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นไม้ไทยโดยแท้จริง  มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้และภาคกลางของไทย   อยู่ในวงศ์เดียวกับ กระดังงา การเวก และสายหยุด ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ด ปลูกเลี้ยงได้ไม่ยากนัก

สรรพคุณ : 
ดอก-มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น
เนื้อไม้และราก-ต้มรับประทานแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
ราก-เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้ 




ดอกไม้เมืองไทย ( ดอกพลับพลึงขาว )



พลับพลึงดอกขาว

พลับพลึงขาว หรือ พลับพลึง ภาษาอังกฤษ  Crinum Lily หรือ Cape Lily, Spider Lily, Poison Bulb พลับพลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum asiaticum L. จัดอยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae เช่นเดียวกันกับพลับพลึงแดง พลับพลึงตีนเป็ด กระเทียม กุยช่าย ว่านสี่ทิศ หอมแดง และหอมใหญ่
พลับพลึงขาว ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น ลิลัว (ภาคเหนือ), ว่านชน (อีสาน), วิรงรอง (ชวา), พลับพลึงขาว, พลับพลึงดอกขาว เป็นต้น จัดเป็นพรรณไม้ที่สามารถพบได้ในประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง

ลักษณะพลับพลึง

  • ต้นพลับพลึง จำเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่ขึ้นเป็นกอ มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลม เมื่อเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-15 เซนติเมตร และมีความสูงราว 90-120 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้น และการเพาะเมล็ด
  • ใบพลับพลึง ใบมีสีเขียวจะออกรอบๆ ลำต้น ลักษณะของใบมีลักษณะใบแคบ เรียวยาว ขอบใบจะเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ใบหนาอวบน้ำ ความกว้างของใบประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
  • ดอกพลับพลึง ดอกเป็นช่อใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอม แต่ละช่อมีดอกประมาณ 15-40 ดอก ก้านดอกชูขึ้นจากตรงกลางลำต้น มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร และสูงราว 90-120 กลีบดอกมีสีขาวแคบเรียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร หนึ่งดอกมีกลีบ 6 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งเข้าหาด้านดอก ที่ดอกมีเกสรตัวผู้มี 6 ด้าน ชูสูงขึ้นจากดอก ที่ปลายเกสรมีสีแดง และจะทยอยออกดอกเรื่อยๆ
  • ผลพลับพลึง จะเป็นผลสีเขียวอ่อน ลักษณะของผลค่อนข้างกลม
สมุนไพรพลับพลึง เป็นพืชที่มีอายุยืนยาวนับสิบปี มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน เป็นพืชที่ดูแลง่าย ไม่ต้องมีการบำรุงรักษามากนัก และยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้เร็วอีกด้วย โดยสายพันธุ์ของพลับพลึง ก็ได้แก่ พลับพลึงด่าง (Crinum variegates), พลับพลึงแดง (Crinum augustum), พลับพลึงเตือน (Crinum rubra), พลับพลึงแมงมุม (Hymenocallis caribaea), พลับพลึงใหญ่ (Crinum amabille) และ พลับพลึงทอง (Crinum asiaticum L.) ที่เป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากต้น Poison Bulb
พลับพลึง มีสรรพคุณทางยาอยู่หลายประการ โดยส่วนที่นำมาใช้ก็ได้แก่ ใบ ราก และเมล็ด ถึงแม้ว่าพลับพลึงจะมีประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็นำมาใช้ได้แค่ภายนอกเท่านั้น เราจะไม่ใช้พลับพลึงเป็นยากินหรือใช้ภายในเนื่องจากมีพิษนั่นเอง


ดอกไม้เมืองไทย ( ดอกบุหงาสาหรี )




ชื่อวิทยาศาสตร์:  Citharexylum spinosum L.
ชื่อวงศ์            VERBENACEAE
ชื่อสามัญ:          Common lime
ชื่อท้องถิ่น:        บุหงาแต่งงาน  บุหงาบาหลี
ลักษณะทั่วไป:
เป็นไม้ขนาดเล็กสูง 3-10 เมตร  ทรงพุ่มโปร่ง  แตกกิ่งก้านจำนวนมาก  ใบเดี่ยวรูปหอกเรียงตรงกันข้าม  กว้าง 6-5 เซนติเมตร  ยาว 10-15 เซนติเมตร ก้านใบมีสีส้ม  ดอกเป็นช่อสีขาว  ยาว 10-20 เซนติเมตร  ออกตามชอกใบและปลายกิ่ง  มีกลิ่นหอมแรง  ในเวลากลางคืน  จนถึงสาย ๆ ออกดอกตลอดปี
ต้น  - เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง  แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มเปลือกต้นมีกลิ่นเหม็นเขียว  ลำต้นสูงประมาณ 25 ฟุต
กิ่งก้าน  - กิ่งก้านเป็นใบเดี่ยว  รูปหอก  ออกตรงข้าม
ใบ  - เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ ขนานกันตามข้อต้น  ลักษณะเป็นใบรูปหอก  แข็งแต่เรียบขอบใบมักจะพับเข้าหากัน ใบดกมีสีเขียว  เมื่อเด็ดมาดมจะเหม็นเขียว
ดอก  - ดอกเป็นพวงอยู่ตามปลายกิ่ง  ลักษณะของพวงจะห้อย  แต่ละพวงจะแยกออกเป็นก้านดอก  ก้าน ๆ หนึ่งจะออกดอกเรียงกันตั้งแต่โคนก้านจนถึงปลายก้านบานหมด
ทั้งก้าน  พวงหนึ่งจะมีก้านดอกประมาณ 8-15  ก้าน  ดอกมีสีขาวเล็ก  บานเต็มที่ประมาณ 1 เซนติเมตร  มีอยู่ 5 กลุบ  ดอกมีกลิ่นหอม
การกระจายพันธุ์:  เป็นพรรณไม้อยู่กลางแจ้ง  อยู่กลางแสงแดดจัดได้  ปลูกง่าย  ขึ้นได้กับดินทุกชนิด

ข้อแนะนำ
บุหงาส่าหรีเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการน้ำไม่มาก แต่ต้องการบ่อยครั้ง เมื่อปลูกไปหลายๆ ปีควรมีการตัดแต่งครั้งใหญ่ๆ สักครั้งหนึ่ง จะช่วยให้ขนาดของใบ และดอกดีขึ้น
การสังเกตว่าปริมาณน้ำที่ต้นบุหงาส่าหรีได้รับเพียงพอหรือไม่ สังเกตได้จากสีของใบจะมีสีค่อนข้างเหลือง แสดงว่าขาดน้ำ
บุหงาส่าหรีมักมีการออกดอกบริเวณที่เป็นกิ่งอ่อน
ฤดูการออกดอก : ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม : หอมตลอดวัน (หอมมากช่วงเย็นถึงเช้า)






ดอกไม้เมืองไทย ( ดอกมะลิ )




มะลิ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum; อังกฤษ: Jasmine; อินโดนีเซีย: Melati) เป็นพรรณไม้ยืนต้น พบได้ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง บางชนิดมีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด นอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

  • ดอก -แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่างๆ แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
  • ใบ ราก - ทำยาหยอดตา
  • ใบ - แก้ไข้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ขับน้ำนม รักษาโรดผิวหนัง หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
  • ราก - แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ นำรากมาฝนกินกับน้ำใช้แก้ร้อนใน คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้